วันอังคารที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2557

รัฐธรรมนูญ 18 ฉบับ

รัฐธรรมนูญ 18 ฉบับ 

ในวิชากฎหมาย แนวคิดประชาธิปไตยตะวันตกได้ถ่ายทอดอยู่ในรูปแบบของทฤษฎีกฎหมายที่เรียก รัฐธรรมนูญนิยม(constitutionalism) ซึ่งตั้งอยู่บนหลักการสามประการ คือ การรับรองสิทธิเสรีภาพของประชาชน การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ และการเสริมสร้างเสถียรภาพและประสิทธิภาพให้กับรัฐบาล รัฐธรรมนูญของไทยหลายฉบับได้ยอมรับแนวคิดดังกล่าวและนำมาเป็นเจตนารมณ์แห่งรัฐ ธรรมนูญในการกำหนดกรอบในการตราบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญหลายฉบับ เช่น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 เป็นต้น โดยเฉพาะรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ได้บัญญัติอย่างชัดแจ้งถึงหลักการดังกล่าวในคำปรารภของรัฐธรรมนูญ 
ดังนั้นโดยสภาพแล้วรัฐธรรมนูญไทยหลายฉบับที่มีกรอบความคิดแบบตะวันตก ควรเกิดผลตามครรลองประชาธิปไตยตะวันตกเหมือนอย่างประเทศตะวันตก แต่สิ่งที่เกิดในระบบการเมืองไทยดูเหมือนสวนทางระบบการเมืองตะวันตก ซึ่งต้องยอมรับว่า รัฐธรรมนูญเป็นเพียงกฎหมายลายลักษณ์อักษรสูงสุดของรัฐ ประเทศไทยมีการเปลี่ยนรัฐธรรมนูญบ่อยครั้ง ซึ่งขัดกับแนวคิดทางนิติศาสตร์ที่ว่า รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐ ซึ่งควรมีความศักดิ์สิทธิ์และคงทนถาวร
สำหรับประเทศไทย ในส่วนที่เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญนั้นนับตั้งแต่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นการปกครองในระบอบประชาธิปไตยซึ่งมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขที่ทรงอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 เป็นต้นมา ประเทศไทยมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ 2 ลักษณะคือ รัฐธรรมนูญ มุ่งจะใช้บังคับเป็นการถาวรโดยที่มีการยกร่างกันอย่างเป็นระบบ กับรัฐธรรมนูญที่มุ่งจะใช้บังคับเป็นการชั่วคราวซึ่งมักเรียก ธรรมนูญการปกครอง
รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวบางฉบับใช้บังคับเป็นเวลานาน เช่น ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2502 ซึ่งเกิดขึ้นจากรัฐประหารจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ใช้บังคับเป็นเวลา 9 ปีเศษ แต่รัฐธรรมนูญฉบับถาวรหลายฉบับใช้บังคับในระยะเวลาสั้น ๆ เพราะเป็นรัฐธรรมนูญที่มีหลักการสอดคล้องกับการปกครองในระบอบประชาธิปไตย แต่ไม่สอดคล้องกับโครงสร้างอำนาจทางการเมืองซึ่งไม่ได้อยู่ในมือของประชาชนอย่างแท้จริง ทว่าตกอยู่ในมือของกลุ่มข้าราชการประจำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งนายทหารระดับสูง ด้วยเหตุนี้รัฐธรรมนูญที่มุ่งจะใช้บังคับเป็นการถาวรจึงมักถูกยกเลิกโดยรัฐประหาร โดยคณะผู้นำทางทหาร เมื่อคณะรัฐประหาร ซึ่งมีชื่อเรียกแตกต่างกันไป เช่น คณะปฏิวัติ คณะปฏิรูป หรือคณะรักษาความสงบเรียบร้อย ยึดอำนาจได้สำเร็จก็จะประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวแล้วจึงร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวร และเมื่อประกาศใช้รัฐธรรมนูญที่มุ่งใช้บังคับถาวรแล้วก็จะมีการเลือกตั้ง และตามด้วยการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ตามวิถีทางของรัฐธรรมนูญฉบับถาวร แต่เมื่อรัฐบาลบริหารประเทศไปได้ระยะหนึ่งก็จะถูกรัฐประหาร และประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับถาวร แล้วก็ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พร้อมทั้งจัดให้การร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวรใหม่อีก หมุนเวียนเป็นวงจรการเมืองของรัฐไทยมาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานนับหลายสิบปี นับตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อ พ.ศ. 2475 เป็นต้นมา
แม้จะเกิดเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ประชาชนร่วมเรียกร้องรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยมากที่สุดในประวัติศาสตร์หลังจากจอมพล ถนอม กิตติขจรรัฐประหาตนเอง เพราะขณะรัฐประหารนั้น จอมพลถนอมดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2511 และเมื่อมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พร้อมเตรียมร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวรตามวงจรการเมืองของไทยที่เคยเป็นมา ก็เกิดกระบวนการเรียกร้องรัฐธรรมนูญจนนำไปสู่เหตุการณ์นองเลือด จนทำให้จอมพล ถนอม กิตติขจรต้องลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และเดินทางออกนอกประเทศ และแม้ต่อมาจะมีการร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2517 ที่เป็นรัฐธรรมนูญซึ่งมีหลักการที่เป็นประชาธิปไตยมากฉบับหนึ่ง แต่ในที่สุดก็มีรัฐประหารอีก แล้วก็เกิดเหตุการณ์นองเลือดเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 ทำให้วงจรการเมืองไทยหมุนกลับไปสู่วงจรเดิม คือ รัฐประหาร ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวร จัดให้มีการเลือกตั้ง จัดตั้งรัฐบาลตามรัฐธรรมนูญฉบับถาวร และรัฐประหารยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับถาวร ซ้ำซากไม่จบสิ้น เฉลี่ยแล้ว รัฐธรรมนูญไทยเปลี่ยนแปลงทุก 4 ปี ต่างจากกรณีสหรัฐอเมริกาที่มีรัฐธรรมนูญเพียงฉบับเดียว ซึ่งนับตั้งแต่ประกาศใช้ 7 มาตรา 55 อนุมาตรา ใน พ.ศ. 2332 ก็มีแต่การแก้ไขให้ทันสมัยเท่านั้น
อย่างไรก็ดี มิใช่ว่ารัฐธรรมนูญที่ดีจะไม่อาจแก้ไขได้เลย เพราะในความเป็นจริงย่อมไม่มีกฎหมายฉบับใดที่เหมาะสมกับทุกเวลาสถานการณ์ได้ ดังนั้น รัฐธรรมนูญก็อาจแก้ไขได้ ตามเวลาและสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป แต่ต้องเป็นไปตามความจำเป็นเท่านั้น อาทิเช่น กรณีของสหรัฐอเมริกา ที่กล่าวมาข้างต้น ปัจจุบันยังไม่เคยเปลี่ยนรัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษร ยังคงใช้ฉบับเดิมมาแต่แรก มีเพียงการแก้ไขปรับปรุงส่วนที่จำเป็นเท่านั้น ดังนั้น การจะทำให้กลไกหรือมาตรการต่าง ๆ ในรัฐธรรมนูญยั่งยืนถาวรได้นั้น จึงอยู่ที่ทุกคนในสังคมที่จะกำหนดวัฒนธรรมทางการเมืองของสังคมว่าจะมีส่วนเข้าใจและเข้าถึงเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแบบประชาธิปไตยได้เพียงใด

ฉบับที่ 1 พ.ศ.2475
     เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 นั้น คณะราษฎร์ ซึ่ง มีพระยาพหลพลพยุหเสนาเป็นหัวหน้า ได้ร่วมกันทำการยึดอำนาจการปกครองประเทศจากพระมหากษัตริย์ เพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศจากระบอบสมบรูณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบ ประชาธิปไตย อันมีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด และพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ มีโดยที่คณะราษฎร์ได้นำพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดิน สยามชั่วคราวซึ่งได้ร่างเตรียมไว้แล้ว ขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเพื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ และพระองค์จึงได้ทรงลงพระปรมาภิไธยแล้วพระราชทานแก่คณะราษฎร ซึ่งถือว่าประเทศไทยได้เริ่มมีรัฐธรรมนูญใช้ในการปกครองประเทศเป็นครั้งแรก นับแต่นั้นมา
กฎหมายดังกล่าว ถือเป็นรัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษรฉบับแรก ซึ่งเป็นฉบับชั่วคราวและเป็นฉบับที่มีอายุการใช้งานเร็วที่สุด เดือน 13 วัน นับจากการประกาศและบังคับใช้ จำนวน 39 มาตรา และได้รับการยกเลิกอย่าง "สันติ" เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2475 เนื่องจากการประกาศ และบังคับใช้รัฐธรรมนูญใหม่ ฉบับถาวร
กฎหมายดังกล่าว ถือเป็นรัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษรฉบับแรก ซึ่งเป็นฉบับชั่วคราวและเป็นฉบับที่มีอายุการใช้งานเร็วที่สุด เดือน 13 วัน นับจากการประกาศและบังคับใช้ จำนวน 39 มาตรา และได้รับการยกเลิกอย่าง "สันติ" เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2475 เนื่องจากการประกาศ และบังคับใช้รัฐธรรมนูญใหม่ ฉบับถาวร
ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2475
     สภาผู้แทนราษฎรก็ได้แต่งตั้งอนุกรรมการขึ้นคณะหนึ่งทำหน้าที่ร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อใช้เป็นหลักในการปกครองประเทศอย่างถาวร รัฐธรรมนูญฉบับที่ นี้ มีหลักการและแนวทางในการปกครองประเทศคล้ายคลึงกับรัฐธรรมนูญฉบับที่ มาก รัฐธรรมนูญฉบับนี้ เป็นรัฐธรรมนูญไทยที่ใช้บังคับได้นานที่สุดเท่าที่ประเทศไทยเคยมีรัฐธรรมนูญ มา โดยได้ประกาศ เมื่อวันที่ 10ธันวาคม 2475 จำนวน 68 มาตรา และได้รับการยกเลิกอย่าง "สันติ" เมื่อวันที่ พฤษภาคม2489รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ทั้งหมดนั้น เป็นระยะเวลายาวนานถึง 13 ปี เดือน โดยมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ครั้ง คือ ครั้งที่ เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2482 แก้ไขเพิ่มเติม ว่าด้วยนามประเทศจาก "สยาม" เป็น "ไทย" ยังผลให้ชื่อของรัฐธรรมนูญต้องเปลี่ยนเป็น "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ครั้งที่ เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2483 แก้ไขเพิ่มเติมว่าด้วยบทเฉพาะกาล   ครั้งที่เมื่อวันที่ ธันวาคม 2485 แก้ไขเพิ่มเติมว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2489
     เนื่องจากได้ใช้รัฐธรรมนูญฉบับก่อนหน้านี้ มาเป็นเวลานานถึง 15 ปีแล้ว เหตุการณ์บ้านเมืองได้เปลี่ยนแปลงไปเป็นอันมาก สมควรที่จะเลิกบทเฉพาะกาล และปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ 2475 และที่สำคัญ ประเทศไทยต้องการจะสมัครเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติจึงต้องแสดงให้ชาวโลก ได้เห็นว่าประเทศไทยปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย จึงทำให้ต้องปรับปรุงแก้ไขรัฐธรรมนูญเสียใหม่ประกาศและบังคับใช้เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2489 จำนวน 96มาตรา โดยนายปรีดี พนมยงค์ (หลวงประดิษฐ์มนูธรรม) นายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ และถูก "ฉีกทิ้ง" เมื่อวันที่ พฤศจิกายน 2490 โดยการรัฐประหารของคณะรัฐประหาร อันมีพลโท ผิน ชุณหะวัน นายทหารกองหนุน เป็นหัวหน้า รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ ปี เดือน 28 วัน
ฉบับที่ 4 พ.ศ. 2490
     คณะรัฐประหาร อ้างว่า ประเทศชาติตกอยู่ในภาวะวิกฤติการณ์รัฐบาลและรัฐสภาไม่สามารถแก้ไขให้กลับสู่ภาวะปกติได้จึงจำต้องให้เลิกใช้รัฐ ธรรมนูญ พ.ศ. 2489 และประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2490 ขึ้นแทน เมื่อวันที่ พฤศจิกายน 2490 รวมจำนวน 98 มาตราต่อมา รัฐธรรมนูญฉบับนี้ก็ถูกยกเลิกอย่าง"สันติ" เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2492 โดยการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ ปี เดือน 14 วัน ระหว่าง ปี เดือน14 วันรัฐธรรมนูญของคณะรัฐประหารฉบับนี้ มีอีกชื่อหนึ่งว่ารัฐธรรมนูญฉบับ "ใต้ตุ่ม" หรือ "ตุ่มแดง" เนื่องจากก่อนหน้านั้น พลโท หลวงกาจสงคราม (กาจ เก่งระดมยิง) รองหัวหน้าคณะรัฐประหาร ซึ่งมีส่วนอย่างสำคัญในการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้แล้วนำไปเก็บซ่อนไว้ใต้ ตุ่มน้ำเพราะเกรงว่าความจะแตกถ้าหากมีใครมาพบเข้า
ฉบับที่  5 พ.ศ. 2492
     รัฐธรรมนูญฉบับบนี้เกิดขึ้นโดยสภาร่างรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2)พุทธศักราช 2491 โดยที่จะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 180 วัน แล้วจึงนำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เสนอต่อรัฐสภาเพื่อให้ความเห็นชอบต่อไปได้ประกาศใช้บังคับเมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2492 จำนวน 188มาตราแต่ในที่สุด ก็ถูก "ฉีกทิ้ง" เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2494 โดยการทำรัฐประหารภายใต้การนำของจอมพล ป. พิบูลสงคราม รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ ปี เดือน วัน
ฉบับที่ 6 พ.ศ. 2495
   รัฐธรรมนูญทั้ง ฉบับข้างต้น   ภัยคุกคามจากลัทธิคอมมิวนิสต์จึงได้เกิดการรัฐประหารนำรัฐธรรมนูญ ฉบับที่ พ.ศ. 2475ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม (พ.ศ. 2482 กับ พ.ศ. 2483) มาใช้แทนเป็นการชั่วคราวไปพลางก่อน  เมื่อได้ดำเนินการเสร็จแล้ว จึงได้เสนอต่อสภาผู้แทนราษฎร และสภามีมติเห็นชอบ จึงได้ประกาศมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ มีนาคม 2495 ประกอบด้วยบทบัญญัติทั้งหมด 123 มาตรา โดยมีบทบัญญัติเดิมของรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2475 อยู่เพียง 41 มาตราเท่านั้น นอกนั้นอีก 82 มาตรา เป็นบทบัญญัติที่เขียนเพิ่มเติมขึ้นใหม่ ซึ่งบทบัญญัติใหม่ดังกล่าวนั้น ส่วนใหญ่ก็นำมาจากรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ.2492  รัฐธรรมนูญฉบับที่ นี้ จึงมีลักษณะผสมผสานกันระหว่างน ระหว่างที่มีการใช้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ไปได้ประมาณ ปี ก็ได้เกิด การเลือกตั้งสกปรกทำให้คณะรัฐประหารภายใต้การนำของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้ทำการยึดอำนาจการปกครองประเทศ เมื่อวันที่ 16 กันยายน2500 และประกาศยุบเลิกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้ง ประเภท แต่ก็มิได้ยกเลิกรัฐธรรมนูญ ที่สุด รัฐธรรมนูญฉบับนี้ ก็จึงได้ถูก "ฉีกทิ้ง" เสีย เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2501รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ทั้งสิ้น ปี เดือน 12 วัน

ฉบับที่ 7 พ.ศ. 2502


     หลังการปฏิวัติ จอมพลสฤษดิ์ ได้ออกประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติมพุทธศักราช 2495  โดยคณะปฏิวัติทำหน้าที่บริหารประเทศออกกฎหมายโดยการออกประกาศของคณะปฏิวัติ และบริหารราชการแผ่นดินโดยหัวหน้าคณะปฏิวัติเป็นผู้สั่งการ เป็นผู้ใช้อำนาจเผด็จการอย่างไม่มีขอบเขต จนถึงวันที่ 28 มกราคม2502 จึงได้ประกาศใช้ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญไทยที่สั้นที่สุด คือ มีเพียง 20 มาตราเพื่อรอการร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวร แต่ก็ถูกใช้เป็นเวลายาวนานรวมถึง 9ปี 4เดือน 20 วัน จนกระทั่งถูกยกเลิกอย่าง "สันติ" เมื่อสภาร่างรัฐธรรมนูญได้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวรแล้วเสร็จและประกาศบังคับ ใช้เป็นรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2511
ฉบับที่ 8 พ.ศ. 2511
     รัฐธรรมนูญฉบับนี้ มีจำนวน 183 มาตรา ถือเป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ ของไทย สภาร่างรัฐธรรมนูญ ทว่าเป็นสภาร่างรัฐธรรมนูญที่ทำหน้าที่ทางนิติบัญญัติด้วย ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว นับว่าเป็นรัฐธรรมนูญที่ใช้เวลาในการยกร่างจัดทำยาวนานที่สุดถึง ปีเศษ โดยละเอียดถี่ถ้วน จนในที่สุด ก็ได้ประกาศและบังคับใช้เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2511 แต่ทว่าก็กลับมีอายุในการใช้งานเพียง ปี เดือน 27วัน กล่าวคือ หลังจากใช้บังคับได้ไม่นานนัก เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2514 รัฐธรรมนูญก็ถูก "ฉีกทิ้ง" อีกครั้งหนึ่ง โดยการทำรัฐประหารตนเองของจอมพลถนอม กิตติขจร ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรี และผู้บัญชาการทหารสูงสุดในขณะนั้น และก็ได้นำเอารัฐธรรมนูญฉบับที่ มาแก้ไขปรับปรุงรายละเอียดใหม่เล็กน้อยก่อนประกาศใช้บังคับ
ฉบับที่ 9 พ.ศ.2515
     รัฐธรรมนูญฉบับที่ ยังห้ามมิให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นรัฐมนตรีในขณะเดียวกันด้วย จึงเท่ากับเป็นการกีดกันมิให้ผู้แทนราษฎรซึ่งมาจากการเลือกตั้ง เข้ามามีส่วนร่วมในการใช้อำนาจบริหารจึงสร้างความไม่พอใจให้แก่ผู้แทนราษฎรเป็นอย่างมาก รัฐบาลไม่สนับสนุนจัดสรรงบประมาณแผ่นดินให้แก่ผู้แทนราษฎรในรูปของงบพัฒนา ซึ่งไม่ชอบต่อการบริหารงานแบบประชาธิปไตย จึงทำรัฐประหาร พร้อมยกเลิกรัฐธรรมนูญ ฉบับที่ ไปในทึ่สุด และได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ ฉบับที่ แทนรัฐ ธรรมนูญฉบับที่ 9 ซึ่งประกาศใช้เป็นรัฐธรรมนูญชั่วคราว เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2515 นั้น มีบทบัญญัติรวมทั้งสิ้นเพียง 23 มาตรา ทว่าที่สำคัญ ก็คือ รัฐธรรมนูญฉบับนี้ ได้นำเอาอำนาจพิเศษของนายกรัฐมนตรี ตามมาตรา 17 มาบัญญัติไว้อีกด้วย ขณะที่มีเวลาใช้บังคับอยู่เพียง ปี เดือน 22 วัน ก็ต้องถูกยกเลิกไป อย่าง "สันติ" เมื่อวันที่ ตุลาคม 2517 เนื่องจากการประกาศและบังคับใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่
ฉบับที่ 10 พ.ศ. 2517
     เป็นรัฐธรรมนูญ ฉบับหนึ่งที่ได้ชื่อว่าเป็นประชาธิปไตยมากที่สุด มีบทบัญญัติที่เปลี่ยนแปลงไปในทางก้าวหน้าและเป็นแบบเสรีนิยมมาเริ่มต้น ในหมวด บททั่วไป ได้มีบทบัญญัติห้ามมิให้มีการนิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำการล้มล้างสถาบันพระมหา กษัตริย์ หรือ รัฐธรรมนูญกและหมวดพระมหากษัตริย์ ได้บัญญัติขึ้นเป็นครั้งแรกว่า ในการสืบราชสันตติวงศ์นั้น ในกรณีที่ไม่มีพระราชโอรส รัฐสภาอาจให้ความเห็นชอบในการให้พระราชธิดาสืบราชสันตติวงศ์ได้ตลอดจนรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ก็ถูกร่างขึ้นภายหลังเกิดเหตุการณ์ วันมหาวิปโยคง นักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชน จึงได้เดินทางมาชุมชนกัน ในที่สุด จอมพลถนอม ก็ได้ตัดสินใจลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และเดินทางออกนอกประเทศพร้อมกับคณะทรราชย์  ต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้นาย สัญญา ธรรมศักดิ์ ดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรี ด้วยพระองค์เอง เพื่อบริหารประเทศชาติในยามคับขัน หลังจากนั้น นายสัญญา จึงได้ประกาศให้สัญญากับประชาชนว่า จะเร่งร่างรัฐธรรมนูญให้แล้วเสร็จภายใน เดือน และจะจัดให้มีการเลือกตั้งผู้แทนราษฎรในประเทศโดยเร็วรัฐมนตรีให้พิจารณาปรับปรุงแก้ไขและพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงลงพระปรมาภิไธยประกาศใช้เมื่อวันที่ ตุลาคม 2517จำนวน 238 มาตรา  มีการแก้ไขเพิ่มเติมเพียงครั้งเดียว และมีระยะเวลาการใช้เพียง ปี ก็ถูก "ฉีกทิ้ง" โดยประกาศของ "คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน" ซึ่งมี พล.ร.อ. สงัด ชลออยู่ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และผู้บัญชาการทหารเรือ เป็นหัวหน้าคณะฯ เมื่อวันที่ ตุลาคม 2519
ฉบับที่ 11 พ.ศ.2519
     รัฐธรรมนูญฉบับที่ 11 นั้น เกิดจากการที่คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ภายใต้การนำของ พล.ร.อ. สงัด ชลออยู่ ได้ เข้ายึดอำนาจหลังจากเกิดเหตุการณ์ล้อมปราบนักศึกษากับประชาชน ซึ่งชุมนุมประท้วงการเดินทางกลับสู่ประเทศไทยของจอมพลถนอม กิตติขจร ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ด้วยความทารุณโหดร้ายอย่างถึงที่สุด คนไทยต้องฆ่ากันเอง คณะปฏิรูปฯ จึงได้ประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับที่ 10 แล้วได้ทำการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ขึ้น และประกาศใช้บังคับในเวลาต่อมา เหตุการณ์ดังกล่าว ทำให้เราสิ้นสุดยุคประชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญที่ได้มาด้วยการต่อสู้ของ ประชาชนในระยะเวลาอันสั้นหลังการปฏิวัติล้มรัฐบาล อันเนื่องมาจากเหตุการณ์นองเลือด เมื่อวันที่ ตุลาคม 2519 แล้ว คณะปฏิวัติ ก็ได้แต่งตั้ง นาย ธานินทร์ กรัยวิเชียร ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี พร้อมๆ กันกับที่ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม2519 โดยมีบทบัญญัติเพียง 29 มาตราเท่านั้น ซึ่งในที่สุด ก็ถูก "ฉีกทิ้ง" โดยการทำรัฐประหารของคณะปฏิรูปฯ เดิม ในนามใหม่ว่า "คณะปฏิวัติ" ในวันที่ 20 ตุลาคม 2520 ซึ่งมีหัวหน้าคนเดิม คือ พล.ร.อ. สงัด ชลออยู่ รวมอายุการบังคับใช้แค่ ปีเท่านั้น
ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2520
     รัฐธรรมนูญฉบับ นี้ เกิดจากการทำรัฐประหารของคณะปฏิวัติ เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2520 โดยให้เหตุผลว่าเพราะภัยคุกคามของคอมมิวนิสต์ หลังจากประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญ ฉบับที่ 11 แล้ว คณะปฏิวัติได้จัดตั้งคณะกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวขึ้น ตามหลักการที่คณะปฏิวัติกำหนดไว้ จากนั้น คณะปฏิวัติจึงได้ประกาศใช้ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2520 ในวันที่ พฤศจิกายน 2520
รัฐธรรมนูญฉบับนี้ มีบทบัญญัติ 32 มาตรา และได้รับการยกเลิกอย่าง "สันติ" เมื่อวันที่ 22ธันวาคม 2521 เนื่องจากการประกาศใช้ธรรมนูญฉบับใหม่ คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 อันเป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ 13 ของประเทศไทย
รัฐธรรมนูญฉบับนี้ มีบทบัญญัติ 32 มาตรา และได้รับการยกเลิกอย่าง "สันติ" เมื่อวันที่ 22ธันวาคม 2521 เนื่องจากการประกาศใช้ธรรมนูญฉบับใหม่ คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 อันเป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ 13 ของประเทศไทยฉบับที่ 13 พ.ศ. 2521รัฐธรรมนูญฉบับนี้มีบทบัญญัติทั้งหมดรวมบทเฉพาะกาล 206 มาตรา โดยสาระสำคัญของรัฐธรรมนูญฉบับนี้ นับว่าเป็นประชาธิปไตยพอสมควรได้มีความพยายามที่จะแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญฉบับนี้อยู่หลายครั้ง ซึ่งสุดท้ายก็ประสบความสำเร็จ เมื่อปี พ.ศ. 2528 ว่าด้วยเรื่อง ระบบการเลือกตั้ง โดยแก้ไขจากแบบรวมเขตรวมเบอร์ หรือ คณะเบอร์เดียว มาเป็นการเลือกตั้งแบบผสม เขตละไม่เกิน คน การแก้ไขเพิ่มเติมครั้งนี้ ถือว่าเป็นการแก้ไขเพิ่มเติม ครั้งที่ ขณะที่การแก้ไขเพิ่มเติมอีกครั้ง คือ ครั้งที่ นั้นเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2532 เกี่ยวกับเรื่องประธานรัฐสภา โดยแก้ไขให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรดำรงตำแหน่งเป็นประธานรัฐสภารัฐ ธรรมนูญฉบับนี้ ได้ใช้บังคับเป็นเวลาค่อนข้างยาวนานถึง 12 ปีเศษ แต่ก็ถูก "ยกเลิก" โดยการรัฐประหารอีกจนได้ เมื่อคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (ร.ส.ช.) ภายใต้การนำของ พลเอก สุนทร คงสมพงษ์ ได้เข้าทำการยึดอำนาจการปกครองประเทศจากรัฐบาลของนายกรัฐมนตรี พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2534
ฉบับที่ 14 พ.ศ. 2534
     ภายหลังจากที่ ร.ส.ช. ได้ทำการยึดอำนาจแล้ว ก็กำหนดให้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2521และวุฒิสภา สภาผู้แทนราษฎร คณะรัฐมนตรีสิ้นสุดลง โดยชี้แจงถึงเหตุผลและความจำเป็นของการเข้ายึดและควบคุมอำนาจในการปกครอง ประเทศจากนั้น ร.ส.ช. จึงได้นำร่างธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2534 ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย และประกาศใช้ เมื่อวันที่ มีนาคม 2534 โดยมีบทบัญญัติอยู่เพียง 33 มาตรา
รัฐธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรฉบับนี้ มีระยะเวลาการใช้บังคับสั้นมาก คือ เพียง เดือน กับอีก วัน เท่านั้น ก็จึงถูกยกเลิกไป จากผลของการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2534 เมื่อวันที่ ธันวาคม พ.ศ. 2534
รัฐธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรฉบับนี้ มีระยะเวลาการใช้บังคับสั้นมาก คือ เพียง เดือน กับอีก วัน เท่านั้น ก็จึงถูกยกเลิกไป จากผลของการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2534 เมื่อวันที่ ธันวาคม พ.ศ. 2534
ฉบับที่ 15 พ.ศ.2534
     รัฐธรรมนูญฉบับนี้ มีทั้งสิ้นจำนวน 233 มาตรา และได้ประกาศใช้ เมื่อวันที่ ธันวาคม 2534นั้นในที่สุด เมื่อรัฐธรรมนูญนี้ มีผลบังคับใช้ บทบัญญัติมาตรา 159 ก็ได้เปิดโอกาสให้เชิญบุคคลภายนอกมาเป็นนายกรัฐมนตรีได้ และหลังจากที่มีการเลือกตั้งทั่วไปตามรัฐธรรมนูญนี้ เนื่องด้วยปัญหาบางประการ ทำให้พรรคการเมืองที่ได้เสียงข้างมากในฐานะพรรคแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล ได้เชิญนายทหารในคณะ ร.ส.ช. คือ พลเอก สุจินดา คราประยูร ให้มาเป็นนายกรัฐมนตรี พร้อมกับเหตุผลที่ว่า เสียสัตย์เพื่อชาติ   ซึ่งนับว่าเป็นการทวนกระแสกับความรู้สึกของประชาชนไม่น้อยประชาชนซึ่ง รวมตัวกันประท้วง  ในช่วงระหว่าง วันที่ 17 ถึง 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 แต่ทว่ากลับเป็นการนำไปสู่เหตุการณ์นองเลือดที่เรียกกันว่า เหตุการณ์ พฤษภาทมิฬ ในที่สุด ซึ่งต่อมา สถานการณ์ต่างๆ ก็บีบรัดจนทำให้พลเอกสุจินดาต้องลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีไปอย่างใจจำยอมรัฐธรรมนูญฉบับประวัติศาสตร์นี้ มีระยะเวลาใช้บังคับรวมทั้งสิ้นปี 10 เดือน วัน ซึ่งได้ถูก "ยกเลิก" เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2540 โดยการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540
ฉบับที่ 16 พ.ศ. 2540
     เป็นกฎหมายสูงสุดว่าด้วยการจัดระเบียบการปกครองประเทศไทยที่เป็นลายลักษณ์ อักษร ฉบับที่ 16 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงลงพระปรมาภิไธย เมื่อวันที่ 11ตุลาคม พ.ศ. 2540 ปัจจุบันรัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้สิ้นสุดลงแล้ว ด้วยการรัฐประหาร เมื่อวันที่ 19กันยายน พ.ศ. 2549รัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2540 นี้ถือเป็นรัฐธรรมนูญที่ริเริ่มขึ้นโดยพรรคชาติไทย นายบรรหาร ศิลปอาชานายก  รัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวถูกเรียกว่าเป็น "รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน" เนื่องจากการมีส่วนร่วมของประชาชนในการร่าง
ฉบับที่ 17 พ.ศ.2549
     ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 123 ตอนที่ 102 ก ณ วันที่ ตุลาคม พ.ศ. 2549 มี 39 มาตราเป็นรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวที่หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ หลังจากที่ได้กระทำการรัฐประหารเป็นผลสำเร็จ เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549คณะ ปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ได้แต่งตั้งทีมงานนักกฎหมายเพื่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวนี้ ซึ่งเริ่มต้นประกอบด้วยนายมีชัย ฤชุพันธุ์ ซึ่งเป็นผู้ร่างรัฐธรรมนูญหลายฉบับนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ และวิษณุ เครืองาม แต่หลังการประกาศชื่อ สองคนนี้ได้ลาออกเนื่องจากได้รับเสียงวิจารณ์ว่าเคยร่วมงานกับขั้วอำนาจเก่า ของรัฐบาลทักษิณ ชินวัตรภายหลังนายมีชัยได้ลาออกจากการเป็นหัว หน้าทีมร่างรัฐธรรมนูญ โดย คปค. ได้แต่งตั้งนายจรัญ ภักดีธนากุล ซึ่งในช่วงนั้นดำรงตำแหน่งเลขาธิการประธานศาลฎีกา ทำหน้าที่แทน
ฉบับที่ 18 พ.ศ. 2550

     รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 เป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับที่ 18 ซึ่งจัดร่างโดยสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) ในระหว่าง พ.ศ. 2549-2550 ภายหลังการรัฐประหารในประเทศโดย คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 โดยร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงลงพระปรมาภิไธยเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ.2550และมีผลใช้บังคับเป็นกฎหมายทันที แทนที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549

เรื่องวันพ่อ


 เรียงความเรื่อง "พ่อหลวง ของปวงชน" โดย เด็กหญิงณัฏฐธิดา ไทรงามเอี่ยม ป.6/3

 "ในหลวง" เป็นชื่อที่ชาวไทยเรียกติดปาก และเป็นขวัญใจของชาวไทยมาโดยตลอด เพราะท่านทำให้เราได้ทุกอย่าง ไม่ว่าท่านจะเหน็ดเหนื่อยจะอ่อนจะเพลีย แต่ท่านก็ไม่เคยที่จะหยุดทำเพื่อประชาชนแม้แต่ครั้งเดียว และท่านทรงมีพระราชกรณียกิจต่าง ๆ มากมาย อาทิเช่น พระราชกรณียกิจด้านศาสนา ด้านความมั่นคงภายในประเทศ ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและอีกมากมาย ท่านทรงตั้งพระทัย ทำพระราชกรณียกิจอย่างดี เพื่อความเจริญก้าวหน้าของประเทศ

           พ่อหลวงของแผ่นดิน ท่านทรงประสูติเมื่อ วันที่ 5 ธันวาคม ชาวไทยจึงถือว่าวันที่ 5 ธันวาคมของทุกปีเป็นวันพ่อแห่งชาติ ท่านทรงสนพระทัยในเรื่องดนตรีสากลมาก ท่านทรงชอบเป่าแซ็กโซโฟน ท่านมีพระราชกรณียกิจด้านการศึกษา ท่านทรงตระหนักดีว่า การพัฒนาการศึกษาของเยาชนนั้น เป็นพื้นฐานอันสำคัญของประเทศชาติ จึงทรงประกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานทรัพย์จัดตั้งมูลนิธิอานันทมหิดลให้เป็นทุนสำหรับการศึกษาในแขนงวิชาต่าง ๆ เพื่อให้นักศึกษาในประเทศต่าง ๆ โดยไม่มีเงื่อนไขผูกมัดแต่ประการใด เพื่อจะได้นำความรู้กลับมาพัฒนาประเทศชาติต่อไป

           นอกเหนือจากนี้แล้ว ทรงมีพระราชดำริให้ดำเนินการจัดทำสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนขึ้น ยังมีพระราชกรณียกิจด้านการแพทย์และสาธารณสุข พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีความห่วงใยประชาชนชาวไทยในทุกด้าน โดยเฉพาะในด้านสุขภาพอนามัย ซึ่งพระองค์ถือว่าเป็นปัญหาสำคัญที่ต้องได้รับการแก้ไข ดังพระราชดำรัสว่า

           "ถ้าคนเราสุขภาพเสื่อมโทรม ก็จะไม่สามารถพัฒนาชาติได้ เพราะทรัพยากรที่สำคัญของประเทศไทยก็คือพลเมืองนั่นเอง"

           พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นห่วงและเอื้ออาทรต่อทุกข์สุขของพสกนิกรอย่างจริงจัง และยังมีพระราชกรณียกิจด้านศาสนา พระองค์ทรงเสด็จพระราชดำเนินเป็นประธานในการเปิดพิธีเนื่องในวโรกาสต่าง ๆ อาทิเช่น พระราชพิธีบำเพ็ญการกุศล ทรงสนับสนุนให้มีการสร้างศาสนสถาน เนื่องจากทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดี

           ในหลวงท่านทรงทำเพื่อเราตั้งมากมายโดยไม่หวังผลตอบแทน ท่านเพียงอยากเห็นทุกคนเป็นคนดี ท่านก็สุขใจ ดังนั้นเราควรทำดีเพื่อตอบแทนท่านให้มากที่สุด ทำตามหลักคำสอนของท่าน รู้จักการพอเพียง การอดออม ปฏิบัติตนให้อยู่ในระเบียบวินัย ไม่นำความเดือดร้อนมาสู่ประเทศชาติให้ท่านสบายใจ ให้ท่านหายเหนื่อยจากการทำงาน หายเมื่อยจากการเยี่ยมประชาชน หายเพลียจากการอดนอน เพราะทรงทำงานเพราะท่านคือพระมหากษัตริย์ในดวงใจและเป็นพ่อหลวงของปวงชน




ความเป็นมาของวันพ่อแห่งชาติ  

      วันพ่อแห่งชาติ ได้จัดให้มีขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2523 โดยคุณหญิงเนื้อทิพย์ เสมรสุต นายกสมาคมผู้อาสาสมัครและช่วยการศึกษาเป็นผู้ริเริ่มหลักการและเหตุผลในการจัดตั้งวันพ่อแห่งชาติ พ่อเป็นผู้มีพระคุณที่มีบทบาทสำคัญต่อครอบครัวและสังคม สมควรที่ผู้เป็นลูกจะเคารพเทิดทูนตอบแทนพระคุณด้วยความกตัญญู และสมควรที่สังคมจะยกย่องให้เกียรติรำลึกถึงผู้เป็นพ่อ จึงถือเอาวันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปีซึ่งเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาเป็น “วันพ่อแห่งชาติ” ด้วยพระมหากรุณาธิคุณ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงมีต่อพสกนิกรชาวไทยอย่างนานัปการ ทรงเป็นพระราชบิดาของพระราชโอรสและพระราชธิดา ทรงรักใคร่และให้ดอกพุทธรักษาเป็นสัญลักษณ์ วันพ่อแห่งชาติ

ทุกบุปผา มาลัยคือใจราษฎร์ ภักดีบาทองค์บพิตรเป็นนิจสิน
พระ คือ บิดาข้าแผ่นดิน ร่วมร้อยรินมาลัยถวายพระพร
ลุ 5 ธันวามหาราช “วันพ่อแห่งชาติ” คือองค์อดิศร
พระเปี่ยมล้นด้วยเมตตาเอื้ออาทร พสกนิกรเป็นสุขทุกคืนวัน 
 
    
ด้วยพ่อเป็นบุคคลผู้มีพระคุณ มีบทบาทสำคัญต่อครอบครัวและสังคม สมควรที่ผู้เป็นลูกจะเคารพ เทิดทูน และตอบแทนพระคุณด้วยความกตัญญู และสังคมควรที่จะยกย่องให้เกียรติรำลึกถึงผู้เป็นพ่อนี่เป็นที่มาของการจัดให้มี วันพ่อแห่งชาติ